สีแดง ถังขยะ "อันตราย"
บรรจุขยะที่มีสารอันตรายปนเปื้อน เช่น กระป๋องสี ขวดสเปรย์ ยาฆ่าแมลง และที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี
สีเขียว" ถังขยะ "ขยะเปียก" หรือ ถังขยะ "ย่อยสลายได้"บรรจุขยะที่ย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เศษไม้ พืช และขยะที่สามารถย่อยสลายได้
สีเหลือง ถังขยะ "รีไซเคิล"บรรจุขยะที่สามารถนำกลับมาใช่ใหม่ได้ เช่น กระดาษ กระป๋อง เหล็ก เศษพลาสติก
สีน้ำเงิน ถังขยะ "ทั่วไป"บรรจุขยะที่ไม่ในหมวดหมู่ของทั้ง กลับมาใช่ใหม่ได้
ในประเทศไทยมีการรณรงค์ให้ทำการแยกขยะก่อนทิ้งมาเกือบ 10 กว่าปีแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ได้ผล เพราะเรายังมีการทิ้งขยะในถังขยะเดียวกันอยู่ แต่ก็มีคนหลายคนให้รัฐบาลลองนำวิธีของต่างประเทศมาใช้ แต่ก็อย่างว่าคนไทยคุ้นชินกับการทิ้งขยะแบบนี้ไปแล้ว แต่ในประเภทเราก็มีการนำถังขยะแยกประเภทเข้ามาใช้ โดยถังขยะจะแบ่งเป็นสีต่างๆ โดยแต่ละสีจะไว้ใช้ใส่ขยะชนิดต่างๆ ถังขยะแยกประเภทที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทยมีทั้งหมด 4 สี
มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นว่า ทำไมคนบ้านเขาถึงแยกขยะในบ้านกันอย่างเอาจริงเอาจัง บางเมืองแยกกันถึง 16 ประเภทเลย แถมยังมีคู่มือสำหรับนักแยกขยะอีกต่างหาก ทำไมเขาไม่โยนๆ ใส่ถังขยะหมดแบบบ้านเราล่ะง่ายกว่าตั้งเยอะ อันที่จริงการที่เขาแยกขยะกันจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไม่ใช่เพื่อความเป็นระเบียบอย่างเดียว เพราะการแยกขยะในบ้านที่มีทั้งกระดาษ พลาสติก แก้ว โลหะ เศษอาหาร หรือแม้แต่ขยะมีพิษ มีประโยชน์มากกว่าที่คิดเอาไว้เสียอีก นั่นคือ
- ช่วยลดปริมาณขยะลง
- ประหยัดงบประมาณที่ใช้เพื่อการกำจัดขยะ
- ช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร
- ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมเกิดมลพิษต่อโลกน้อยลง